วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บทที่ 5 คอมพิวเตอร์กับงานธุรกิจ

คอมพิวเตอร์กับงานธุรกิจ
                                ความหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และธุรกิจ
                                การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ [[59265]] คอมพิวเตอร์ มาจากภาษาลาตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ ซึ่งมีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ ดังนี้
 เสาวคนธ์ อุ่นยนต์ และก่อกุล กีฬาพัฒน์ (2539 : 3) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถในการแปลงคำสั่ง ในโปรแกรม และทำงานตามคำสั่งนั้น ๆ ซึ่งเป็นคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับ การรับข้อมูลนำเข้า การคำนวณ การปฏิบัติการทางตรรกะ และการสร้างผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ประพัฒน์ อุทโยภาส (2532 : 9) ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ว่า เป็นเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นมาที่สามารถแก้ปัญหา เขียนภาพ พิมพ์อักษร เก็บรักษาและค้นหาข้อมูล เล่นเกม และอื่น ๆ อีกสารพัด
ศรีศักดิ์ จามรมาน (2532 : 39) ได้กล่าวถึงคอมพิวเตอร์ว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่มีการทำงานด้วยความเร็ว มีความสามารถในการจดจำสิ่งต่าง ๆ และนอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังให้ความละเอียดเที่ยงตรง (Accuracy) และมีความซื่อตรงต่อคำสั่ง (Faithfulness)
สิทธิชัย ประสานวงศ์ (2526 : 1) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ
ยุพิน ไทยรัตนานนท์ (2527 : 11) ได้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานแทนมนุษย์ในการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและอักษร เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ (Symbol) ด้วยความเร็วสูง
ทักษิณา สวนานนณ์ (2530 : 12) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นโดยมนุษย์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงสมองด้วยการประมวลผลข้อมูลได้ตามคำสั่งที่กำหนด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2532 : 1) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถจะรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายข้อมูล เปรียบเทียบจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
จำนง ภูมิพันธุ์ (2533 : 15) ได้กล่าวถึง ความหมายของคอมพิวเตอร์ว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อจัดกระทำข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยความเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ โดยดำเนินการจัดกระทำตามขั้นตอนของโปรแกรมที่วางไว้
สุพัตรา บุญมา (2537 : 4) ให้ความหมายว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง กลุ่มของ เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมตัวกันเข้าเป็นระบบ (System)
เฉลิมพล ทัพซ้าย (2534 : 7) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับเอาข้อมูลและคำสั่งเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลตามคำสั่งต่อเนื่องกันไปแล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบต่าง ๆ
กุลยา นิ่มสกุล (2532 : 2) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือทันสมัยที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ช่วยทำงานที่สลับซับซ้อนหรืองานที่มีปริมาณมาก ๆ ให้เสร็จด้วยความถูกต้องภายในระยะเวลาอันสั้น
ดำรัสสิริ อุทยานานนท์ (2538 : 1) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องจักรกลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความสามารถในการทำการประมวลผลข้อมูล ซึ่งถูกป้อนเข้ามาพร้อมด้วยคำสั่งได้โดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว และแม่นยำ เราอาจกล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เป็นสมองกลที่ทำงานด้วยคำสั่งของมนุษย์ในรูปของโปรแกรมคำสั่ง และสามารถทำงานได้มากกว่า เร็วกว่า และถูกต้องกว่าสมองมนุษย์ จากความหมายของคอมพิวเตอร์ดังที่กล่าวมาแล้ว อาจสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องจักรกลอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถทำงานโดยอัตโนมัติกับข้อมูล เพื่อให้ได้ผลตามที่มนุษย์ต้องการ มีความถูกต้องรวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหา ช่วยผ่อนแรงให้กับมนุษย์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากตามที่มนุษย์ป้อนคำสั่งเข้าไป ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีขั้นตอนการจัดกระทำกับข้อมูลไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือแม้กระทั่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ มีการรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูล แสดงผลข้อมูล และจัดเก็บข้อมูล โดยอาศัยคำสั่งผ่านโปรแกรมข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถรับได้ ด้วยความรวดเร็วถูกต้อง และสมบูรณ์ อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการความคิด แล้วมีการแลกเปลี่ยน ซื้อขายกันและมีวัตถุประสงค์ ได้ประโยชน์จากกิจกรรมนั้น ๆ
ธุรกิจ หมายถึง องค์การหรือกิจการที่ทำให้เกิดสินค้า และบริการ ธุรกิจเป็นกระบวนการทั้งหมดของการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนไปตามกรรมวิธีการผลิตด้วยแรงคน และเครื่องจักรให้เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการ กิจกรรมทางธุรกิจจึงรวมทั้งการผลิต การซื้อ การขาย การจำแนกแจกจ่ายสินค้า การขนส่ง การประกันภัย และอื่น ๆ
ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้การผลิตสินค้า และบริการมีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และมีการกระจายสินค้าและมีประโยชน์ได้กำไรจากกิจการนั้น ธุรกิจมีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ในสังคมปัจจุบันมาก เพราะนอกจากจะเป็นองค์การที่ผลิตสินค้า หรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงค์ชีวิต หรือปัจจัยสี่ การประกอบธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก หรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือกำไร เพราะกำไรเป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญในทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันและขยายตัวกันมากในทางธุรกิจทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้ากันมากขึ้น
ธุรกิจ หมายถึง ความพยายามที่เป็นแบบแผนของนักธุรกิจในการผลิต และขายสินค้า หรือบริการ เพื่อสนองความต้องการของสังคมโดยมุ่งกำไร(www.thaiall.com/business./syllabus.htm) เพราะฉะนั้นคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในงานธุรกิจ เพื่อทำให้เกิดผลกำไร และมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น
                                การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานธุรกิจ
                                1. ความหมายของคอมพิวเตอร์ระบบธุรกิจ
                                           กระบวนการของ กิจการทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์เป็นระบบและอย่างต่อเนื่องใจการผลิต การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมีจุดมุ่งหมายที่จะได้กำไร
2. ความสำคัญของธุรกิจ
                                          ระบบธุรกิจมีความตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องบริการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เช่นแรงงานมนุษย์  วัตถุดิบ  ให้มีประสิทธิภาพ และประโยชน์มากที่สุด ซึ้งธุรกิจแต่ละอย่างจะมีการดำเนินงานแตกต่างกันออกไป
3.โครงสร้างระบบธุรกิจ  แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
3.1 ลักษณะภายนอกของโครงสร้างระบบธุรกิจ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
                                                              1. ส่วนประกอบโดยตรงของระบบธุรกิจ เช่น กลุ่มของธุรกิจมีความสัมพันธ์ กับพนักงานที่ทำงานในหน่วยงาน เป็นต้น
                                                             2. ส่วนประกอบโดยอ้อมหรือปัจจัยแวดล้อม ได้แก่ กฎหมาย กฎระเบียบ ข้องบังคับต่าง ๆ ลัทธิทางศาสตร์  ขนบธรรมเนียมประเพณี ทัศนคติ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.2 ลักษณะภายในของโครงสร้างระบบธุรกิจ
1. ธุรกิจที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ความต่างด้านผลิตภัณฑ์
2 ธุรกิจที่มีลักษณะขึ้นตรงต่อกันและความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะอย่าง  พึ่งพาอาศัยกัน
3.ธุรกิจที่มีลักษณะไม่หยุดนิ่ง เป็นสิ่งที่ธุรกิจจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในภายนอกของวงการธุรกิจ
4.ระบบงานพื้นฐานที่ไม่ใช้ในธุรกิจ
4.1 ระบบสั่งซื้อ
4.2 ระบบการขาย
4.3 ระบบบัญชี
4 .4 ระบบการเงิน
5. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในบริการต่าง ๆ บริการที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต จะแบ่งดังนี้
                                                                              5.1. บริการข้อมูลมัลติมีเดีย ด้วย world wide web การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วย hypertext link แบบไฮเปอร์เท็กซ์ hypertext เป็นเอกสารนำเสนอทางเครื่องคอมพิวเตอร์ เว็ปเพจ Web page  เอกสารข้อแต่ละหน้าจะถูกเขียนด้วย HTML เรียกว่าเว็บเพจ โฮมเพจ Home page เว็ปเพจหน้าแรกสุดของข้อมูลแต่ละเรื่อง จะเรียกว่า โฮมเพจ เปรียบเสมือนหน้าปกของหนังสือ จะบอกว่าข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเรื่องใด เว็บไซต์ Web site หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
 5.2. บริการรับ-ส่งข้อความ E-mail จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ สามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้นไม่ว่าจะทำงานอยู่ใกล้กันหรือห่างกันคนละมุมโลก
5.3. บริการส่งผ่านไฟล์ข้อมูล ด้วยFTP การโอนย้ายข้อมูล เป็นรูปแบบที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเทอร์เน็ต
5.4. บริการค้นหาข้อมูลด้วย gopher เป็นโปรแกรมที่ใช้คนหาข้อมูล
5.5. บริการส่งข่าวสารด้วย  usenet การสื่อสารประเภทนี้มาจากกระดานข่าว หรือ Bulletin voard
5.6. การติดต่อสื่อสารด้วย telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตจากระยะไกล
                                ลักษณะการใช้คอมพิวเตอร์ในการดำเนินธุรกิจ
                                1. การใช้เป็นเครื่องมืออัตโนมัติ (Automation) เป็นการนําคอมพิวเตอร์มาและเครื่องมืออัตโนมัติอื่น ๆ มาใช้ในงานธุรกิจแบบตรงไปตรงมา เช่น การนําเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพิมพ์เอกสารธุรกิจ หรือการใช้ระบบบัญชีแทนการลงบัญชีด้วยมือ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้มีผลต่อความสะดวกในการทํางานเท่านั้น
2. การใช้คอมพิวเตอร์วางระบบ (Computerization) เป็นการใช้ที่เริ่มต้นด้วยกาวางแผนอย่างรัดกุมว่าหน่วยงานนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร มีหน้าที่และลักษณะการดําเนินการอย่างไรบ้าง มีการใช้ข้อมูลและสารสนเทศอย่างไรบ้าง การเคลื่อนที่ของข้อมูลเอกสารอย่างไร วิเคราะห์และวางแผนกําหนดโครงสร้างของระบบงานคอมพิวเตอร์ให้ครอบคลุมทั้งหน่วยงาน และพัฒนาระบบงานขึ้นตามแผนนั้น
3. การใช้คอมพิวเตอร์ในการปรับรื้อระบบ (Reengineering) โดยการนําคอมพิวเตอร์มาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทํางานหรือเชื่อมโยงการปฏิบัติงานให้ต่อเนื่องกันได้ หรือเพื่อให้ใช้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ร่วมกันได้
                                ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้
                                ถึงแม้ว่ากิจการและธุรกิจต่าง ๆ จะได้รับผลประโยชน์จากการนําคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานมากขึ้นก็ตาม แต่ก็มีหน่วยงานหลาย ๆ แห่งที่ประสบความล้มเหลวในการนําคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทํางาน คือ ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดทําข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยํา และเป็นข่าวสารที่มีความหมายต่อธุรกิจได้ สาเหตุใหญ่ ๆ ที่ธุรกิจประสบความล้มเหลวพอสรุปได้ดังนี้
1. ความผิดพลาดของข้อมูล ผู้ใช้ต้องมีความมั่นใจว่า ข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ จึงจะทําให้ได้รับข่าวสารหรือข้อสนเทศที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อธุรกิจได้ ดังนั้นความล้มเหลวของธุรกิจส่วนหนึ่งจึงมาจากข้อมูลที่ผิดพลาดนั่นเอง
2. ความผิดพลาดของชุดคําสั่งงานที่ป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์จะประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ตามคําสั่งของชุดคําสั่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบที่เรียกว่า โปรแกรม (Program) โปรแกรมเมอร์จะเป็นผู้เขียนคําสั่งของชุดทํางานที่ประกอบไปด้วยคําสั่งที่ใช้ในการอ่านข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และจัดทําหรือแสดงผลลัพธ์ ที่ได้จากการประมวลผลได้แก่ ข้อสนเทศ หรือข่าวสาร ในบางครั้งขั้นตอนของชุดคําสั่งงานอาจจะมีข้อผิดพลาดทําให้ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้ถูกต้อง ถึงแม้ว่าข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบจะถูกต้องก็ตามแต่บางครั้งชุดคําสั่งงานอาจผิดพลาดในลักษณะที่มองไม่เห็น ก็ไม่สามารถที่จะประมวลผลงานต่าง ๆ โดยให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้แต่อาจจะให้ผลลัพธ์ที่ผิดถ้าข้อมูลที่นํามาประมวลผลนั้นมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากข้อมูลชุดอื่น ๆ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้จะทําให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด
3. ความไม่เข้ากันระหว่างผู้ใช้ (Users) และผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์สาเหตุใหญ่ที่ทําให้การนําคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานภายในธุรกิจไม่ประสบความสําเร็จ และไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจเท่าที่ควร เนื่องมาจากความไม่เข้าใจกันระหว่างบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ข่าวสารหรือข้อสนเทศ ว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไร ในบางครั้งผู้ใช้ไม่มีความเข้าใจเพียงพอว่า คอมพิวเตอร์สามารถทํางานอะไรบ้าง และไม่สามารถทําอะไรได้บ้าง ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ก็ไม่เข้าใจลักษณะและระบบงานธุรกิจได้ดีพอ จึงไม่ทราบว่าจะนําคอมพิวเตอร์ไปช่วยงานธุรกิจให้ดีที่สุดได้อย่างไร จึงจะทําให้ธุรกิจของผู้ใช้ประสบความสําเร็จในการทํางานได้มากที่สุด ปัจจุบันนี้ได้มีการสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ศึกษาวิจัยโครงการทางธุรกิจเพื่อวิจัยดูว่าทําอย่างไรจะลดช่องว่างระหว่างผู้ใช้กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ให้ลดลงได้
4. ขาดการควบคุมและการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมในปัจจุบันนี้ได้มีการนําคอมพิวเตอร์มาใช้งานมากขึ้นตามลําดับ จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุม และมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตั้งเครื่องเทอร์มินอล (Terminals) และเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จากที่ต่าง ๆ เชื่อมโยงไปยังระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ศูนย์กลาง (Central Computers) ได้เพิ่มจํานวนมากขึ้น จึงจําเป็ นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมและการรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบดังกล่าวมากยิ่งขึ้นด้วย นอกจากนั้นควรมีมาตรการที่เด็ดขาดในการป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีอํานาจเข้าไปใช้เครื่องเทอร์มินอลและคอมพิวเตอร์รวมทั้งข้อมูลได้อีกด้วย แต่ธุรกิจส่วนใหญ่มักจะเพิกเฉยและมักจะไม่ให้ความสําคัญกับเรื่องดังกล่าว หรือให้ความสําคัญน้อยมาก ผลที่ได้รับตามมาก็คือทําให้ข้อมูลผิดพลาดไปจากความเป็นจริงซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากความไม่ตั้งใจที่จะทุจริตก็ได้ นอกจากนั้นในหน่วยงานบางหน่วยงานที่ได้แก่ หน่วยงานของรัฐบาล ธนาคารโรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ถ้าหากขาดการควบคุมที่เหมาะสมทั้งทางด้านระบบงานและข้อมูลของหน่วยงานแล้ว ก็จะก่อให้เกิดปัญหาของการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ ดังนั้นหน่วยงานเหล่านี้จึงจําเป็นต้องเพิ่มมาตรการการควบคุมเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ข้างต้นได
5. ขาดความเป็นมาตรฐานสาเหตุสืบเนื่องมาจากวงการทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ความเป็นมาตรฐานจึงยังค่อนข้างตํ่า ทั้งนี้เพราว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัท แต่ละรุ่นผู้ผลิตมักจะสร้างให้มีสิ่งพิเศษเฉพาะด้านและวิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์ได้รุดหน้าไปรวดเร็วมาก แต่การพัฒนาในเรื่องการรักษามาตรฐานของเครื่องยังค่อนข้างช้า และในบางครั้งซอฟต์แวร์ยังไม่เป็นมาตรฐานอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากซอฟต์แวร์บางตัวสามารถนําไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ชนิดชนิดหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่สามารถนําไปใช้กับคอมพิวเตอร์อื่นได้ และแม้กระทั่งแนวความคิดในการเขียนชุดคําสั่งงานเพื่อทํางานใดงานหนึ่งของโปรแกรมเมอร์แต่ละคนก็ยังแตกต่างกันด้วย
6. วัตถุประสงค์และเป้ าหมายของงานไม่คงที่และไม่แน่นอนคอมพิวเตอร์จะทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าระบบงานนั้นมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน คงที่และแน่นอน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ต่าง ๆ
7. ผู้ใช้มีความกลัวและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงระบบ โดยข้อเท็จจริงแล้วผุ้ใช้ควรจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการออกแบบ และนําระบบงานด้านคอมพิวเตอร์ไปทดสอบใช้เพราะว่าถ้าขาดผู้ใช้แล้วการจัดทําระบบข้อมูลก็จะไม่บรรลุผลสําเร็จลงไปได้ทั้งนี้เพราะว่าผู้ใช้เป็นผู้กําหนดและให้ข้อมูลของระบบงานทั้งหมด จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้และบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ควรจะต้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และไม่ขัดแย้งกัน เพื่อให้การจัดทําระบบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์ประสบความสําเร็จตามที่ธุรกิจต้องการ

บทที่ 5 คอมพิวเตอร์กับงานธุรกิจ

คอมพิวเตอร์กับงานธุรกิจ                                  ความหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และธุรกิจ                                   การประ...